top of page

Blood Test

3d-illustration-human-red-blood-cells.jpg

 

 

Live blood Analysis (LBA)​ ( เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เลือดจากปลายนิ้ว)​
เป็นการตรวจวิเคราะห์เลือดสดในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งสามารถบ่งบอกสภาวะทางสุขภาพเบื้องต้น เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยต่อ โดยสังเกตุองค์ประกอบในเลือด ได้แก่ลักษณะของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว สารตกค้าง และรูปแบบการเรียงตัวของเม็ดเลือด ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงของโรคต่างๆได้ และแนะนำการปฏิบัติตัวเบื้องต้นให้แก่ลูกค้า

สิ่งที่ LBA บ่งบอก ได้แก่

  1. การกระจายตัวของเม็ดเลือดแดง บ่งบอกถึงสภาวะการย่อยและการดูดซึม

  2. สารตกค้างในเลือด บ่งบอกถึงการสะสมของไขมัน โปรตีน และปัญหาของตับ สารพิษโลหะหนัก

  3. ลักษณะและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง บ่งบอกถึงสภาวะ การขาดวิตามินและเกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายรวมถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมน

  4. ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งดูได้จากคุณภาพของเม็ดเลือดขาว และแบคทีเรียในน้ำเลือด


​มีข้อดีอย่างไรบ้าง และ ต่างกับการตรวจในโรงพยาบาลอย่างไร ...?

  1. LBA จัดเป็นการตรวจป้องกันโรคเพื่อดูแลสุขภาพคนไข้ได้อย่างแท้จริง กล่าวคือใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรคอันเกิดจากพฤติกรรมของคนไข้ก่อนจะเกิดตัวโรคขึ้นจริง

  2. ผลการวิเคราะห์ที่ได้ครอบคลุมทุกระบบในร่างกาย จึงจัดเป็นการดูแลสุขภาพองค์รวม ทั้งนี้แพทย์สามารถใช้ผลการวิเคราะห์นี้เพื่อการวินิจฉัยการเกิดโรคโดยร่วมกับการสั่งตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจทางคลินิก

  3. ไม่ต้องงดน้ำ

  4. งดอาหารก่อนตรวจ

องค์ประกอบในเลือดและการเรียงตัวรวมถึงคุณภาพเม็ดเลือด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะการดำเนินชีวิต อาหารที่รับประทาน รวมถึงการได้รับการรักษาที่ตรงจุด เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อวิเคราะห์ผล ควรทำเดือนละหนึ่งครั้ง หรือมากกว่านั้นตามแพทย์สั่งในกรณีคนไข้ที่ต้องการติดตามผลอย่างใกล้ชิด

ต้องเตรียมตัวก่อนมาตรวจอย่างไรบ้าง

การเจาะเลือดปลายนิ้วเป็นการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพเบื้องต้น เป็นการดูถึงสภาวะปัจจุบันของคนไข้ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ชีวิต ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการพักผ่อน ดังนั้นควรทำการตรวจในสภาวะปกติของคนไข้ ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืองดอาหาร ซึ่งผลการตรวจเบื้องต้นนี้เราสามารถแนะนำคนไข้ในเรื่องต่างๆ และชี้ให้เห็นปัญหาที่มาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่นการรับประทานอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาลมากเกินไป หรือคนไข้ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอขึ้น

bottom of page